...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของ นางสาว ลักขณา แก้ววันทา ....

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

1.ให้ นศ.ศึกษาgadget ต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานใน gadgetนั้นๆ สามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไรตอบ


ปุ่ม +1
ทำให้ผู้เข้าชมสามารถแนะนำแบรนด์และเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว


ผู้ติดตามของ Google+
ไฮไลต์ผู้ชม Google+ ทั้งหมด (แสดงทั้งจำนวนและใบหน้าที่เป็นมิตรบางส่วน) แล้วให้ทางเลือกแก่ผู้เข้าชมเพื่อติดตามบน Google+


ป้ายสถานะ Google+
บอกให้ผู้เข้าชมรู้ว่าอยู่บน Google+ และให้พวกเขาติดตามได้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว


แปล
ให้ผู้เข้าชมแปลบล็อกเป็นภาษาต่างๆ ได้


ติดตามทางอีเมล
ทำให้ผู้เข้าชมสามารถสมัครเป็นสมาชิกรับอีเมลเมื่อคุณเผยแพร่โพสต์ได้อย่างง่ายดาย


บทความที่ได้รับความนิยม
แสดงรายกาารโพสต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากบล็อก


สถิติของบล็อก
แสดงจำนวนการดูหน้าเว็บไว้ในบล็อก


หน้าเว็บ
แสดงรายการของหน้าเว็บอิสระในบล็อก


AdSense
สร้างรายได้จากการแสดงโฆษณาที่มีความเกี่ยวข้องบนบล็อก


ช่องค้นหา
ให้ผู้เข้าชมสามารถค้นหาบล็อก การลิงก์ไปยังบล็อกอื่น และทุกสิ่งที่ได้ลิงก์ไป


HTML/จาวาสคริปต์
เพิ่มฟังก์ชันของบุคคลที่สามหรือรหัสอื่นในบล็อก


ข้อความ
เพิ่มข้อความลงในบล็อก


รูปภาพ
เพิ่มรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือจากที่อื่นบนเว็บ


สไลด์โชว์
เพิ่มการแสดงสไลด์รูปภาพโปรดลงในบล็อก


แถบวิดีโอ
แสดงคลิป YouTube ให้ผู้อ่านสามารถรับชมได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ


แบบสำรวจ
สำรวจความเห็นจากผู้เข้าชมโดยเพิ่มแบบสำรวจในบล็อก


รายการบล็อก
อวดสิ่งที่คุณอ่านด้วยการลิงก์ไปยังบล็อกอื่นที่โปรดปราน


รายชื่อลิงก์
แสดงคอลเล็กชันของไซต์ บล็อก และหน้าเว็บที่โปรดปรานแก่ผู้เข้าชม


รายการ
เพิ่มรายการหนังสือหรือภาพยนตร์โปรด หรืออะไรก็ได้ที่ชื่นชอบ


ฟีด
เพิ่มเนื้อหาจากฟีดข้อมูล RSS หรือ Atom ในบล็อก


Newsreel
แสดงพาดหัวข่าวปัจจุบันจาก Google ข่าวสารในบล็อก


ป้ายกำกับ
แสดงป้ายกำกับของบทความทั้งหมดในบล็อก


ลิงก์การสมัคร
อนุญาตให้ผู้อ่านของคุณสามารถสมัครรับข้อมูลบล็อกได้สะดวกด้วยเครื่องมืออ่านฟีดที่ได้รับความนิยม


โลโก้
แสดงให้เห็นความภาคภูมิในบล็อกเกอร์โดยการเพิ่มโลโก้ลงในหน้าเว็บ


โปรไฟล์
แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของบล็อกแก่ผู้เข้าชม


คลังบทความของบล็อก
ทำให้ผู้เข้าชมสามารถไปที่ส่วนต่างๆ ในบล็อกได้อย่างง่ายดายพร้อมลิงก์ไปยังโพสต์เก่าๆ

ส่วนหัวของหน้า
แสดงชื่อและคำอธิบายของบล็อก

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนของวิชาใดก็ได้มา1 วิชา ในสาขาการศึกษาปฐมวัยศึกษามา1 ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

ตอบ วิชาศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

 Input

       - วัตถุประสงค์

       - แผนการสอน

       - เนื้อหาที่สอน

       - อุปกรณ์ประกอบการสอน

       - ผู้เรียน
 

  Process

กิจกรรมการวาดภาพเป็นกิจกรรมที่นิยมกันมาก  ทั้งในโรงเรียนอนุบาลและชนบท การวาดภาพเป็นการ

การรับรู้ของเด็กเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อตัวเขามาก และจะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น ถ้าเด็กได้นำมาถ่ายทอดเป็น

ผลงานศิลปะ ในลักษณะของการวาด สิ่งที่เด็กใส่ไว้ในภาพวาดของตัวเองคือ  ประสบการณ์ในการณ์

ในชีวิตของเด็กทั้งสิ้นเป็นประสบการณ์ที่บริสุทธิ์

  Output 
1. ด้านสุนทรียภาพ  แสดงให้เห็นถึงประสาทสัมผัสที่ได้บูรณาการประสบการณ์ทั้งมวล  ซึ่งสัมพันธ์กับ

ความคิด  ความรู้สึก  และการรับรู้  การบูรณาการนึ้จะเห็นได้จากการจัดภาพ และแสดงออกทางความ

รู้สึกนึกคิดสะท้อนออกเป็นเส้น  สี  ช่องว่าง

2.  การสร้างสรรค์  หรือ การสรรค์สร้าง  ภาพต่างๆ ที่เด็กได้แสดงออกเป็นรูปไม่ว่าท้องฟ้า  ภูเขา  คน

 สัตว์  เป็นการสร้างสรรค์สิ่งง่ายๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างสิ่งที่มีความซับซ้อน  ละเอียดลออ  และยุ่งยาก

มากขึ้น  การสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวเด็กต้องการความมีเสรีภาพทางความคิด  ความประทับใจ  การ

ให้กำลังใจ และความมั่นใจ  ในการแสดงออก เมื่อเด็กมีสิ่งที่กล่าวก็จะเริ่มสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อ

เนื่อง



   

 





วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

assignment 2การผลิตน้ำตาลทราย


การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น system หรือไม่ (ถ้าจัดว่าเป็นให้อธิบายตามลักษณะทางกายภาพของระบบ ว่าอะไรบ้างเป็น (input process output)

P = Process

1. การต้มน้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)

2. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อ ระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)

3. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

4. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

5.การทำความสะอาดและฟอกสี น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะ ถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการ ปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)

I = Input
1. หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนในการตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจาก
-อายุ
-ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย
- และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน
อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ

2.ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย

3.สำหรับ น้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส

O = Output
สิ่งที่ได้จากการผลิตน้ำตาลคือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล